ตารางสอนภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๗

วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดยใช้กลวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ อาร์ อี เอ พี (REAP)

     การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้และการดำรงชีวิตของมนุษย์ การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการฟัง ปัจจุบันมีการนำเสนอความรู้ ข้อมูลในหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นมากมาย นอกจากนี้แล้วข่าวสารสำคัญหลังจากนำเสนอด้วยการพูด หรืออ่านให้ฟังผ่านสื่อ ส่วนใหญ่จะตีพิมพ์รักษาไว้เป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านในชั้นหลัง ความสามารถในการอ่านจึงสำคัญและจำเป็นยิ่งต่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมปัจจุบัน 

         หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้กำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทยในสาระที่ ๑ การอ่าน มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน จากสาระดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ทักษะการอ่าน เป็นสาระที่มีความสำคัญและสามารถใช้ความรู้และข้อคิดเป็นแนวทางในการชีวิตประจำวันได้ 

       การอ่านแบ่งออกเป็นหลายระดับ ตั้งแต่อ่านออก อ่านตีความ อ่านจับจับความสำคัญ ไปถึงจนถึงการอ่านสร้างสรรค์ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีความสำคัญอย่างมากสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน เพราะการเรียนการสอนในโรงเรียนมีวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งที่สำคัญคือ นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวันได้ 

         อ้างอิงจากผลการประเมินการทดสอบ PISA ในปี ๒๐๒๒ ซึ่งเป็นการทดสอบความฉลาดรู้ในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ พบว่านักเรียนไทยมีคะแนนด้านการอ่าน ๓๗๙ คะแนน ซึ่งอยู่ในลำดับที่ ๕ จาก ๘ ประเทศที่เข้าสอบในกลุ่มอาเซียน สอดคล้องกับประสบการณ์จัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่าผู้เรียนขาดทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กล่าวคือ ผู้เรียนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นจากบทอ่าน รวมถึงเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เข้าสู่ชีวิตประจำวันได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงได้สนใจทำวิจัยเรื่องการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดยใช้กลวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ อาร์ อี เอ พี (REAP) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน